วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551

แม่วาง

ดอกแอปเปิ้ล ที่โครงการหลวงขุนวาง


















เราเพิ่งจะเคยเห็นต้นแอปเปิ้ลในเมืองไทย สมัยเด็กๆไปที่เอไอที รังสิตเพื่อนหลอกให้ไปดูต้นแอปเปิ้ล..ยังจำได้




ที่นี่ของแท้ แอปเปิ้ล ที่โครงการหลวงขุนวาง

ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงขุนวางนี้อยู่ที่ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่นี่ปลูกพืชหลายอย่างทดแทนการปลูกฝิ่น

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวง แม่จอนหลวง

ศูนย์วัจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ( แม่จอนหลวง )

ที่นี่เหมาะสำหรับมาดูพระอาทิตย์ตกยามเย็น

บรรยากาศดีมากๆ

คุณอุทัย นพคุณวงศ์ ผอ.ศูนย์ต้อนรับคณะของเราอย่างดีและบอกว่าไม่ค่อยจะมี ผู้ว่าราชการจังหวัดสักกี่คนที่ได้มาเยี่ยมถึงบนนี้....มายากจริงๆถ้าเป็นหน้าฝนยิ่งไม่อยากนึกภาพเลย




เรามาถึงคำแล้วไม่เห็นพระอาทิตย์ตก
เช้าเลยไปหาภาพอาทิตย์ขึ้น





แปลงผักที่วิจัย
ที่นี่เราได้เห็นต้นแมคคาดาเมีย
ได้ทดลองกระเทาะเปลือก
ที่เป็นความรู้ใหม่คือนัทชนิดนี้ไม่ต้องเก็บบนต้นเลยต้นมันสูง ลูกมันจะร่วงลงมาเองเมื่อมันแก่จัดเปลือกยังเป็นสีเขียวอยู่แต่เมล็ดในมีสีน้ำตาลอ่อนๆ
















เขาจัดเวทีต้อนรับมีดนตรีขับร้องเพลงกันสนุกสนาน
เราได้ดูเด็กๆชนเผ่ามาแสดง
ท่านผู้ว่าให้รางวัลเด็กๆให้เขามีกำลังใจและมีความสุข
เหมีอนกับพวกเรา.......ท่านรองชูชาติ คุณนายวราภรณ์
กีฬาแปงก็มาด้วย








ท่านนายอำเภอแม่วางก็มาด้วย
ในภาพท่าน ผอ.อุทัย นพคุณวงศ์
กับท่านผู้ว่าวิบูลย์






ปล่อยโคมลอยที่นี่ไม่อันตรายเพราะที่โล่งมากๆ แต่หนาวมากเลยน้ำค้างเยอะด้วย


คุณนายวราภรณ์ปล่อยโคมลอย






ท่านผู้ว่ากับเด็กๆ น้องปรียานุช ชื่อเหมือนนางสาวไทยเลย






















บ้านพักรับรองของศูนย์ฯ












ท่านผู้ว่าชอบเตรียมงานมักจะจดเรื่องต่างๆที่จะต้องติดตามเพื่อช่วยแก้ปัญหาของแต่ละพื้นที่ๆเข้าไปเยี่ยมและวันนั้นเตรียมข้อมูลที่จะให้สัมภาษณ์ลงหนังสือเทศาภิบาลด้วย













นักท่องเทียวที่ไม่ได้จองที่พักก็นอนเต้นท์
ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นได้บรรยากาศดี














ดอกบัวตองที่เชียงใหม่
















ดอกไม้ที่ศูนย์ยามเช้ายังมืดอยู่เราตื่นมาเดินออกกำลังกาย ภาพนี้ต้องใช้แฟลชช่วย
















ใครไม่ทราบดื่มกาแฟแล้วไม่เอาถ้วยกาแฟไปทิ้ง...วางไว้ในพุ่มไม้
๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
















แม่แจ่ม

อำเภอแม่แจ่ม ห่างจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ ๑๑๕ กิโลเมตร เป็นอำเภอหนึ่งที่น่าไปเที่ยว
ที่ทำการอำเภออยู่ในตำบลช่างเคิ่ง หนึ่งในสิบตำบลของแม่แจ่ม ซึ่งในไม่ช้าอาจจะแยกเป็นสองอำเภอเพราะมีตำบลบ้านวัดจันทร์ตอนเหนือของอำเภอแม่แจ่มกว่าจะมาอำเภอต้องเดินทางไกลมากเส้นทางยากลำบาก


ติดอำเภอมีแม่น้ำแม่แจ่มไหลผ่านเป็นแหล่งเพาะปลูกที่อุดมสมบูรณ์
จึงมักมีการบุกรุกป่าปลูกพืชไร่เสมอ
ในพื้นที่มีป่าสงวนแห่งชาติประมาณ๒.๔๗ล้านไร่มีประชากร๖.๗หมื่นคนเป็นชนเผ่า ๒๕๓๕ คน



ตลาดอยู่ตรงข้ามที่ว่าการอำเภอ





ท่านผู้ว่าวิบูลย์คุยกับเจ้าหน้าที่ที่แม่แจ่ม
เมื่อ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๑เมื่อครั้งไปเยี่ยม
โครงการหลวงซึ่งเราจะเดินทางต่อไปอีก
โครงการหลวงขุนวางอยู่อำเภอแม่วางแต่ใช้เส้นทางแม่แจ่ม แล้วต่อไปศูนย์วิจัย
เกษตรหลวงเชียงใหม่แม่จอนหลวงในอำเภอแม่แจ่ม ที่เราจะพักค้างคืนกัน
เส้นทางนี้ถนนเสียหายมาก รถเก๋งหลายคันต้องกลับลงไปมีแต่โฟร์วีลจึงเข้ามาได้




วันเสาร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2551

ดอยอินทนนท์


ตั้งแต่สมัยเด็กๆ
ใครๆ ก็ท่องจำว่าดอยอินทนนท์เป็นดอยที่สูงที่สุดของประเทศไทย ซึ่งสูงถึง 2,565 กิโลเมตรจากระดับน้ำทะเล


เด็กกรุงเทพอย่างเรา หรือใครที่ไม่เคยมาเที่ยวเลย ก็จะไม่รู้สภาพภูมิประเทศ....ท่องจำเป็นนกแก้วนกขุนทองกันไป สมัยก่อนการเรียนมีสื่อน้อย ภาพก็ไม่ค่อยเห็น สมัยนี้มีสารพัดสื่อ เราเองกว่าจะได้มาถึงอินทนนท์ก็ปาไปห้าสิบกว่า...คิดแต่ว่าดอยคงไม่หายไปไหนไปเมื่อไรก็ได้ หรืออาจจะว่าเป็นเด็กด้อยโอกาสประเภทหนึ่งก็น่าได้...เพราะไม่มีใครพาเที่ยวภูเขาภูดอยเลย นอกจากภูเขาทองวัดสระเกศ

พอมาอยู่เชียงใหม่มีโอกาสได้ขึ้นมาที่จุดสูงสุดแดนสยามเป็นครั้งแรก ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2551 วันนั้นตรงกับวันอาทิตย์ช่วงเช้าอากาศเย็นจนหนาว ลมพัดก้อนเมฆผ่านหน้าเราไปเป็นหมอกบางๆ ถ้ามิใช่วันสำคัญ คงมิได้ขึ้นมาที่นี่ ...เพราะชีวิตนี้มีงานให้ทำเยอะจริงๆ...ท่องเที่ยวเป็นของแถมหรือเป็นผลพลอยได้

ที่ว่าวันสำคัญคือเป็นวันคล้ายวันที่เจ้าอินทวิชยานนท์
เจ้าผู้ครอง นครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ถึงแก่พิราลัย
ปี 2440 นับมาก็ 111 ปี พอดี

อำเภอจอมทอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของดอยอินทนนท์ ร่วมกับสภา วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีเจ้าดวงเดือน ณ เชียงใหม่ เป็นประธาน จัดให้มีพิธีไหว้สาเจ้าอินทวิชยานนท์บนยอดดอยนี้ เพราะเล่ากันว่าก่อนจะเสียชีวิต ท่านรับสั่งให้นำอัฐิส่วนหนึ่งของท่านมาไว้บนยอดดอยนี้เพื่อปกป้องคุ้มครองชาวเชียงใหม่ให้มีความอยู่เย็นเป็นสุข อัฐิอีกส่วนหนึ่งบรรจุในกู่ที่วัดสวนดอก เช่นเดียวกับอัฐิของเจ้านายฝ่ายเหนือท่านอื่นๆ

เจ้านายฝ่ายเหนือในปัจจุบันที่มีชีวิตอยู่ก็มีไม่มากนัก แต่ละท่านยังช่วยกิจกรรมของจังหวัดเป็นอย่างดี เป็นที่น่าเคารพนับถือ
วันนั้นมีคุณเจ้าดารารัตน์ ณ ลำพูน หลานคุณหญิงเจ้า ระวีพันธ์ สุจริตกุล มาร่วมงานเป็นตัวแทนเจ้านายฝ่ายเหนือ ส่วนคุณหญิงเจ้าท่านมิได้มาเนื่องจากท่านล้มและเจ็บหลังคุณหมอยังให้พักอยู่บ้าน ท่านก็อายุ 80 แล้วแต่ยังแข็งแรง ท่านช่วยงานสังคมสงเคราะห์ ให้กับหลายสมาคมในเชียงใหม่ และเป็นที่ปรึกษาให้กับเหล่ากาชาดจังหวัดเชียงใหม่ด้วย

สถานที่จัดงานไหว้สาประดับด้วยดอกไม้สด สวยงามมีนักเรียนในเขตพื้นที่อำเภอจอมทองมาบรรเลงดนตรีพื้นเมืองและสาวๆฟ้อนรำงดงามและอ่อนช้อย ส่วนเด็กนักเรียนชายตัวน้อยๆก็โชว์ลีลาการตีกลองสะบัดไชย อย่างน่าดู จากนั้นก็มีขบวนแห่ของชาวบ้านตำบลต่างๆ แต่งกายพื้นเมืองสวยงามและที่น่าสนใจยิ่งนัก คือการประดิษฐ์ประดอยพุ่มดอกไม้ที่มีหลากหลายแบบ โดยเฉพาะของชาวบ้านที่ทำมาด้วยใจเป็นกรวยใบตองใส่ดอกไม้สีสดใสที่ปลูกเอง หรือจะเก็บมาจากริมทางก็มิทราบได้ บ้างก็เป็นใบเตยพับเป็นดอกไม้เขียวไปทั้งช่อเลย ประเภทที่ทำจากเทียนและหมากก็มี...สุดจะบรรยาย มาแล้วมีความสุข สุขที่ได้เห็นสิ่งดีๆในบรรยากาศที่แสดงออกถึงความเคารพศรัทธา กตัญญูต่อผู้มีบุญคุณในอดีต....


นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติที่บังเอิญขึ้นมาวันนั้นได้บันทึกภาพสวยๆกลับไป รวมทั้งเราด้วยที่อดไม่ได้ที่จะถ่ายภาพไว้เป็นหลักฐานว่าได้มาถึงแล้วจุดสูงสุดแดนสยาม